บ้านเราที่แดดแรงเหลือใจในแทบจะทุกหน้า ทำให้ผลิตภัณฑ์กันแดดเป็นสิ่งที่จำเป็นอีกอย่างสำหรับใครหลายคน
เพจสถาบันโรคผิวหนัง ข้อมูลโดยพญ.อรจุฑา ชยางศุ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุ “ปัจจุบันนอกจากครีมกันแดดชนิดทาแล้ว ในท้องตลาดยังมีผลิตภัณฑ์กินแดดชนิดกินมาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันแสงแดดอีกด้วย
ข้อดี - ใช้ง่ายไม่ต้องทาให้เหนียวเหนอะหนะ การออกฤทธิ์ไม่ต้องขึ้นกับการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง
- ไม่ถูกรบกวนด้วยปัจจัยภายนอก เช่น เหงื่อ น้ำทะเล หรือน้ำจากสระว่ายน้ำ จึงไม่ต้องทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง
ข้อเสีย – ผลข้างเคียงจากการดูดซึมยา
- กันแดดชนิดกินไม่สามารถนำมาใช้แทนครีมกันแดดชนิดทาได้ เนื่องจากไม่ได้ออกฤทธิ์เป็นเกราะป้องกันรังสียูวีโดยตรง
ทั้งนี้ ควรนำผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดกินมาใช้เป็นเพียงตัวช่วยเสริมฤทธิ์ยาครีมกันแดดชนิดทา ใช้ในการป้องกันผิวหนังจากผลกระทบที่เกิดจากแสงแดด เช่น ผิวไหม้อักเสบ ผิวหยาบกร้าน ผิวหมองคล้ำ ริ้วรอย และการเกิดมะเร็งผิวหนัง
ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดกินอาจออกฤทธิ์เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สารที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ หรือสารที่มีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อแสงแดด โดยสารที่นิยมใช้มักเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่ดูดซับได้ง่าย เช่น สารสกัดจากชาเขียว โกโก้ ทับทิม เป็นต้น ซึ่งมีสารออกฤทธิ์หลัก ดังนี้
1.วิตามินซี, อี, อนุพันธ์วิตามินบีสาม วิตามินดีสาม
2.สารกลุ่มโพลีฟีนอล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม -กลุ่มฟลาโวนอยด์ - กลุ่มที่ไม่ใช่ฟลาโวนอยด์
3.สารกลุ่มที่ไม่ใช่โพลีฟีนอล - สารแคโรทีนอยด์ - สารคาเฟอีน
ข้อควรระวัง ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดกิน มีทั้งรูปแบบน้ำ เม็ด และแคปซูล ปริมาณยาที่เหมาะสมและการบริหารยาให้อ้างอิงตามฉลากของผลิตภัณฑ์ และหากมีอาการผิดปกติ หลังจากใช้ยา เช่น มีผื่นคัน แสบบริเวณผิวหนัง ตาไวต่อแสง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ให้หยุดยาทันทีและควรรีบไปพบแพทย์”
July 31, 2020 at 07:35AM
https://ift.tt/3hWSxyd
ข้อดี-ข้อเสีย ของผลิตภัณฑ์ “กันแดดแบบกิน” - สยามรัฐ
https://ift.tt/2Vr1UN4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ข้อดี-ข้อเสีย ของผลิตภัณฑ์ “กันแดดแบบกิน” - สยามรัฐ"
Post a Comment